27 มีนาคม 2166

มีหนังสือจากริชาร์ด เฟอร์สแลนด์ เขียนไปกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงสยาม ความว่า เขียนที่ จาการ์ตา ลงวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ.1623 กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงศรีอยุธยาผู้เกรียงไกร พระบาทสมเด็จ- บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ฯ เกล้ากระหม่อมขอน้อมรับพระมหากรุณาธิคุณที่ล้นเกล้า ฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานอภิสิทธิ์ต่างๆ ในกรุงกัมพูชาให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า (เมื่อล้นเกล้า ฯ ตีได้แล้ว) กับสัญญาที่จะพระ- ราชทานสิทธิอื่น ๆ ตามแต่ข้าพระพุทธเจ้าจะกราบบังคมทูลขอพระราชทานในที่ทุกแห่ง ในราชอาณาจักร ของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าจะพยายามใช้สิทธิที่พระองค์พระราชทานนั้นให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนจะใช้ สิทธิประโยชน์ที่ได้โปรดพระราชทานให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าเป็นพิเศษตามแต่โอกาสจะอำนวยให้ เพื่อให้เกิด ประโยชน์สุขแก่พสกนิกรของพระเจ้ากรุงอังกฤษ ความเคารพนับถือและการต้อนรับขับสู้ซึ่งข้าพระพุทธเจ้ามีต่อและได้จัดให้แก่ข้าราชบริพาร ของพระองค์นั้น นับว่าได้เป็นไปอย่างเท่าเทียมกับคณะราชทูตทั้งหลายที่จะมีต่อกษัตริย์ที่มีบุญญานุภาพ แผ่ไพศาลทั่วไปทั้งหลาย แต่กระนั้นข้าพระพุทธเจ้าก็ยังรู้สึกว่ายังมิเป็นการเพียงพอ เนื่องด้วยลักษณะ สถานที่ที่เราพำนักอาศัยอยู่นี้แตกต่างไปจากที่อื่น ๆ กล่าวคือเป็นประเทศที่ชาวฮอลันดามีอิทธิพลปกคลุม อยู่ทั่วไป แต่ข้าพระพุทธเจ้าหวังว่าข้าราชบริพารของพระองค์คงจะพากันยินดี และหวังว่าพระองค์คงจะ พอพระทัยเมื่อพวกเขาจะได้กราบบังคมทูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้น ให้ทรงทราบรวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ การที่เราจะใช้เมืองปัตตาเวียเป็นศูนย์รวมที่พักอาศัยของพวกเรา และพระองค์คงจะพอพระราชหฤทัยใน คำตอบบังคมทูลพระราชสาส์น ที่พระองค์ได้ส่งมาให้ข้าพระพุทธเจ้า สภาพของการค้าของกรุงสยามในขณะนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับชาวอังกฤษ นับว่าอยู่ในระดับ น้อยมาก และการค้า ณ ที่นี้จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก จนทำให้เราไม่ได้กำไร และพระองค์ อาจจะไม่ทรงทราบมาก่อนว่าชีวิตของพ่อค้านั้นขึ้นอยู่กับกำไรที่จะได้รับจากการดำเนินกิจการ มิฉะนั้นแล้ว พวกเราก็ไม่อาจจะคงอยู่ได้ ความต้องการของเราในกิจการค้าในราชอาณาจักรของพระองค์ขณะนี้ก็คือ ข้าพระพุทธเจ้าจำต้องสั่งให้อพยพพ่อค้าของเราออกจากราชอาณาจักร เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่าย ซึ่งขณะนี้ ท่วมท้นอยู่ลงไปได้ และห้างของเราก็ไม่ได้รับกำไรในการค้าเพียงพอที่จะมาจุนเจือการดำเนินงานของเรา ได้ ด้วยเหตุประการฉะนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงใคร่กราบบังคมทูลขอให้ใต้ฝ่าพระบาทได้โปรดทรงพระกรุณาฯ อนุญาตให้พวกพ่อค้าของเราออกจากกรุงสยามมากับเรือลำนี้ ที่เราส่งไปรับเป็นพิเศษต้องเสียค่าใช้จ่าย ไปเป็นอันมาก ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้นำขุนนางของใต้ฝ่าพระบาทไปส่งด้วย และพร้อมกันนั้นก็จะได้อพยพคน ของเรากลับมาจากที่นั่น และนอกจากนี้ ข้าพระพุทธเจ้าใคร่ขอกราบบังคมทูลใต้ฝ่าพระบาท ได้ทรงพระ กรุณาแต่งตั้งข้าราชการของใต้ฝ่าพระบาท คอยดูแลรักษาบ้านที่พระองค์ได้ทรงพระกรุณาพระราชทาน แก่ชาวอังกฤษ จนกว่าพวกนี้จะกลับมาที่นี่อีก ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าคาดว่าคงจะอีกไม่นาน ในขณะเดียวกัน ข้าพระพุทธเจ้าขอใต้ฝ่าพระบาทได้ทรงพระกรุณาส่งพระราชสาส์นท้องตราอนุญาตให้เราทำการค้าที่ลิกอร์ โดยเสรี เช่นเดียวกับที่ชาวฮอลันดาได้รับอยู่ขณะนี้ ถ้าหากใต้ฝ่าพระบาทจะทรงพระกรุณา พระราชทาน สิทธิดังกล่าวแก่ชาวอังกฤษ ข้าพระพุทธเจ้า ก็จะรับไว้เป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ข้าพระพุทธเจ้าเป็น อย่างยิ่ง และจะเป็นกำลังใจแก่ข้าพระพุทธเจ้า ที่จะจัดส่งเรือมาค้าในอาณาจักรของใต้ฝ่าพระบาทอีก

27 มีนาคม 2388

วิลเฮร์ม คอนรัด ฟอน โรนต์เก็น บุคคลผู้มีสมองอันเปรื่องปราชญ์ผู้นี้สามารถค้นพบแสง เอกซ์-เรย์ อันเป็นประโยชน์มหาศาลแก่มวลมนุษย์ เขามีกำเนิดเป็นชาวปรุสเซีย เกิดที่เมืองเลนเนป เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2388 มีคน กล่าวกันว่าวิลเลียมมอร์แกนเป็นผู้ค้นพบแสงเอกซ์-เรย์ ก่อนหน้าโรนต์เก็น ซึ่งได้ค้นคว้าสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2437 โรนต์เก็นได้รับการศึกษาในประเทศฮอลันดา และที่มหาวิทยาลัยซูริดเขามีนิสัยเป็นนักค้นคว้า และได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์คันต์ นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ต่อมาเขาได้รับหน้าที่เป็นอาจารย์ใน พ.ศ. 2418 ต่อจากนั้นเขาก็เริ่มมีชื่อเสียงในวงการวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์วิชา ฟิสิคซ์และเรขาคณิตประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โฮเฮนแฮม นอกจากนี้แล้วเขายังได้ทำการสอนอยู่ที่วิทยาลัยสตรัสเบิร์ก และวิทยาลัยไกเซน ก่อนที่เขาย้าย ไปประจำอยู่มหาวิทยาลัยวีซ์เบิร์ก ซึ่งเขามีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เอง วันหนึ่งในปี พ.ศ.2438 เขาได้ทดลองกระแสร์ไฟฟ้าผ่านหลอดแก้ว ที่หุ้มด้วยกระดาษดำ และมีอากาศผ่านได้เกือบตลอดแม้ว่าเขาจะไม่เห็นแสงจากกระแสไฟฟ้านั้น เพราะมี กระดาษหุ้มอยู่ แต่เขาก็สังเกตเห็นกระแสไฟฟ้านั้นได้ ทำให้ผลึกของเบเรียมแพลตติโนไซยาไนต์สว่างขึ้นได้ อย่างชัดเจน เขาพยายามหาวัตุสิ่งอื่นมาคั่นระหว่างหลอดแก้วกับกระดาษ ซึ่งมีผลึกนั้นวางแผ่อยู่ และเห็น ว่าวัตถุสิ่งนั้นได้ทำให้เกิดเงาบนกระดาษการทดลองอย่างอื่น ๆ เพิ่มเติมได้พิสูจน์ว่า การแผ่รังสีสามารถผ่าน วัตถุที่มาขวางแสงนั้นได้ การค้นพบของเขาครั้งนี้ จะเรียกว่าเป็นการบังเอิญก็ได้ และตัวเขาเองก็ไม่รู้ว่าเป็นแสงอะไร จึงได้ตั้งชื่อเอกซ์อันเป็นทางสมมติ ต่อมาเลยใช้ชื่อย่อของเขาต่อท้าย เรียกแสงนี้ว่าเอกซ์-เรย์ สืบต่อมาจน ทุกวันนี้ แสงเอกซ์-เรย์ ที่เขาได้ค้นพบขึ้นนี้เป็นประโยชน์มหาศาลต่อวงการแพทย์ของโลกในสหรัฐ- อเมริกาในการทดลองครั้งแรก ๆ ปฏิบัติการได้ผลเป็นอย่างดีในการนำไปใช้ตรวจกระสุนปืนที่ฝังอยู่ในขา คนไข้ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้นำเครื่องเอกซ์-เรย์ของเขานำไปใช้ ซึ่งเขาก็ได้เป็นผู้สร้างประโยชน์ให้แก่วงการ แพทย์ทั่วโลกอย่างอเนกอนันต์ ต่อมาไม่นานนัก โดยที่เห็นว่าเครื่องเอกซ์-เรย์ของเขายังไม่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพไม่ สมบูรณ์พอ เซอร์ เฮอร์เบิร์ต แจคสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ดัดแปลงเครื่องฉายเอกซ์-เรย์ของ โรนต์เก็นใหม่ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นแบบที่เซอร์เฮอร์เบิร์ต แจคสันที่ดัดแปลงขึ้นนี้ ก็เป็นแบบที่คล้ายคลึง กับเครื่องฉายเอกซ์-เรย์ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ จากการค้นพบแสงเอกซ์-เรย์ นี้เอง ทำให้นักฟิสิคส์ชาวเยอรมัน ได้ค้นคว้าทดลองสิ่งอื่น ๆ ตามทฤษฎีของเขา เช่นความรู้สึกซ่อนเร้นเกี่ยวกับความเป็นแท่งเล็กๆ ความยืดหยุ่น การไฟฟ้าที่ใช้ความกด ให้กระแสไฟเดินไปทางเดียว และวิชาที่ว่าด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เขาได้รับเกียรติสูงส่ง ได้รับรางวัลโนเบลทางฟิสิคส์ใน พ.ศ. 2444 ได้เหรียญรัมฟอร์ค ของ สมาคมวิทยาศาสตร์หลวง เขาถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2466

27 มีนาคม 2450

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศทางภาคพื้นยุโรป ครั้งที่ 2

27 มีนาคม 2485

ประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 บริเวณหน้า สวนลุมพินี กรุงเทพฯ อนุสาวรีย์นี้มีลักษณะประทับยืน ฐานและบัลลังก์ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ภาย- นอกถือปูนทำเป็นหินล้าง ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี แห่งกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบปั้นหล่อพระบรมรูป เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484 โดยได้เริ่มหล่อพระเศียรก่อน และเสร็จสิ้นทั้งองค์เมื่อ 7 มิถุนายน 2484 สิ้นค่า- ใช้จ่ายทั้งสิ้น 120,957.25 บาท นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สามารถทำการหล่อรูปขนาดใหญ่ นี้สำเร็จในประเทศไทย อนุสาวรีย์นี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิพย์ทิพยอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จ- ราชการแทนพระองค์ เสด็จประกอบพระราชกรณียกิจแทนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเปิด พระบรมรูปนี้

27 มีนาคม 2504

เปิดอนุสาวรีย์จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ที่ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัด ลำปาง เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2394 และถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2474

27 มีนาคม 2515

ประธานาธิบดีศรีวราหคีรี วังกตะ คีรี และภริยา มาเยือนประเทศไทยเป็นทางการจนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2515